หัวข้อ   “อนาคตโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี : ใครกำไร ใครขาดทุน?”
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ 82.1%  เชื่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือกจะมีการ
คอร์รัปชั่นอย่างแน่นอน
                 86.6% ระบุโรงสี/ไซโล คือ กลุ่มได้รับผลประโยชน์มากที่สุด
                 74.6% เชื่อผู้บริโภค  คือ กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์มากที่สุด
                 59.7%  พร้อมยืนยัน โครงการประกันราคา ดีกว่าโครงการรับจำนำ
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  เปิดเผยผลสำรวจความเห็น
นักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของ
ประเทศ 31 แห่ง จำนวน 67 คน เรื่อง “
อนาคตโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี :
ใครกำไร ใครขาดทุน?
” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 26 ก.ย. - 3 ต.ค. ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 50.7 เชื่อว่าราคารับจำนำข้าวเปลือกที่
ชาวนาจะได้จะต่ำกว่าราคาที่รัฐบาลประกาศไว้
  ขณะที่ร้อยละ 38.8 เชื่อว่าราคารับ
จำนำที่ชาวนาจะได้จะเท่ากับราคาที่รัฐบาลประกาศไว้ เมื่อสอบถามความเห็นที่มีต่อ
ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวม ในปี 2555 จะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขายหรือไม่  
นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 56.7 เชื่อว่า มีโอกาสน้อย  ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลก โดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาล
จะขาย ในขณะที่ร้อยละ 19.4 เชื่อว่า ไม่มีโอกาสเลย  ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลก โดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาล
จะขาย มีเพียงร้อยละ 17.9 ที่เชื่อว่า มีโอกาสมาก ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย
 
                 ส่วนปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก นักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 82.1
เชื่อว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างแน่นอน
มีเพียงร้อยละ 4.5 เท่านั้นที่เชื่อว่าจะไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น
 
                 สำหรับกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก คือ
โรงสี/ไซโล (ร้อยละ 86.6)
  นักการเมือง (ร้อยละ 61.2)  และ ผู้ส่งออก (ร้อยละ 43.3)   ส่วนกลุ่มผู้เสียผล
ประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ผู้บริโภค (ร้อยละ 74.6)
  ชาวนา (ร้อยละ 41.8)  รัฐบาล (ร้อยละ 37.3)
 
                 ด้านความคิดเห็นที่จะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในการแก้ปัญหาราคาข้าวด้วยวิธีใดจึงจะดี
และมีความเหมาะสมที่สุด   นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.7 เห็นว่า ควรแก้ปัญหาโดยไม่เข้าไป
แทรกแซงกลไกราคา แต่ควรใช้การประกันราคาในระดับที่เหมาะสมกับต้นทุน ดังที่ได้ดำเนินมาใน
โครงการประกันรายได้เกษตรกร ของพรรคประชาธิปัตย์   ขณะที่มีเพียงร้อยละ 17.9 เท่านั้นที่เห็นว่า
ควรแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการบริหารจัดการอุปทาน (Supply side)   ดังที่กำลังดำเนินการอยู่ใน
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี
 
                 นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังได้เสนอแนะแนวทางอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาราคาข้าว/โครงการรับ
จำนำข้าวเปลือกนาปี คือ
                         (1) การแก้ปัญหาราคาข้าวต้องมีการบริหารจัดการที่รัดกุมอย่าให้เกิดการทุจริตได้ โดยการรวบรวม
สาเหตุที่โครงการรับจำนำข้าวในอดีตขาดทุน แล้วกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ   เช่น ปัญหาการสวมสิทธิ์เข้าร่วม
โครงการ หรือ โรงสีนำข้าวเปลือกจากชาวนาหมุนเวียนเข้าร่วมโครงการ เป็นต้น
                         (2) ควรใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าว มากกว่าการแทรกแซงราคา พัฒนาผลผลิต
ต่อไร่   พัฒนาคุณภาพข้าว   เป็นต้น
 
                 (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
             1. ความคิดเห็นที่มีต่อ ราคารับจำนำข้าวเปลือกที่ชาวนาได้รับจริงว่าจะเป็นไปตามที่รัฐบาล
                 ประกาศไว้หรือไม่
(พิจารณาเฉพาะปีการผลิต 2554/2555)

 
ร้อยละ
เชื่อว่า ราคารับจำนำที่ชาวนาจะได้ จะเท่ากับราคาที่รัฐบาลประกาศไว้
38.8
เชื่อว่า ราคารับจำนำที่ชาวนาจะได้ จะต่ำกว่าราคาที่ประกาศไว้
50.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
10.5
 
 
             2. ความคิดเห็นที่มีต่อ โอกาสที่ราคาข้าวสาร(milled rice) ในตลาดโลกโดยรวม ในปี 2555
                 จะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย
(ราคารับจำนำ + ต้นทุนในการสี)

 
ร้อยละ
เชื่อว่า มีโอกาสมาก ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคา
ที่รัฐบาลจะขาย
17.9
เชื่อว่า มีโอกาสน้อย ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะ
สูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย
56.7
เชื่อว่า ไม่มีโอกาสเลย ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคา
ที่รัฐบาลจะขาย
19.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
6.0
 
 
             3. ความคิดเห็นที่มีต่อ ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

 
ร้อยละ
เชื่อว่า จะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น อย่างแน่นอน
82.1
เชื่อว่า จะไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น อย่างแน่นอน
4.5
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
13.4
 
 
             4. ความคิดเห็นต่อกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก ในโครงการรับจำนำ
                 ข้าวเปลือก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
โรงสี/ไซโล
86.6
นักการเมือง
61.2
ผู้ส่งออก
43.3
ชาวนา
34.3
รัฐบาล
11.9
พ่อค้า/แม่ค้า
6.0
ดิสเคาท์สโตร์
3.0
ผู้บริโภค
1.5
อื่นๆ คือ ชาวนารายใหญ่ ธกส.
6.0
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
7.5
 
 
             5. ความคิดเห็นต่อกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ผู้บริโภค
74.6
ชาวนา
41.8
รัฐบาล
37.3
ผู้ส่งออก
32.8
พ่อค้า/แม่ค้า
13.4
โรงสี/ไซโล
3.0
นักการเมือง
3.0
ดิสเคาท์สโตร์
3.0
อื่นๆ คือ ชาวนารายย่อย ผู้ส่งออกรายย่อย โรงสีที่ไม่มีเส้นสายทาง
การเมือง ประชาชนผู้เสียภาษี และประเทศชาติโดยรวม
16.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
7.5
 
 
             6. ความคิดเห็น เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในการแก้ปัญหาราคาข้าวด้วยวิธีใด
                 จึงจะดีและมีความเหมาะสมที่สุด


 
ร้อยละ
เห็นว่า ควรแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการบริหารจัดการอุปทาน (Supply side)
ดังที่กำลัง ดำเนินการอยู่ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี
17.9
เห็นว่า ควรแก้ปัญหาโดยไม่เข้าไปแทรกแซงกลไกราคา แต่
จะใช้การประกันราคาในระดับที่เหมาะสมกับต้นทุน ดังที่ได้
ดำเนินมาในโครงการประกันรายได้เกษตรกร ของพรรค
ประชาธิปัตย์ โดยให้เหตุผลเพิ่มเติม คือ
      (1) ด้วยภาระต้นทุนของรัฐที่ใกล้เคียงกัน แต่การประกันราคา
           จะทำให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์โดยตรง และครบถ้วน
           ต่างจากการรับจำนำข้าวที่ผู้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดคือโรงสี
      (2) ต้องกำหนดราคาประกันตามต้นทุนของเกษตรกรเพื่อช่วยให้
           เกษตรกรอยู่ได้ อีกทั้งต้องส่งเสริมการบริหารจัดการต้นทุนการผลิต
           ของเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ
      (3) ควรปรับปรุงระเบียบบางส่วนเพื่อให้ชาวนาที่ไม่มีที่นาของ
           ตัวเอง แต่เช่าที่นาของผู้อื่น ได้รับประโยชน์ด้วย
59.7
เสนอ วิธีการอื่นๆ คือ
      (1) บริหารจัดการทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยนำเทคโนโลยี
           สารสนเทศเข้ามาช่วย รวมถึงการกำหนด zoning พื้นที่ปลูกข้าว
           เพื่อจำกัดปริมาณการผลิตข้าวในแต่ละฤดู
      (2) บริหารจัดการต้นทุนการผลิต สร้างระบบชลประทาน พัฒนา
           คุณภาพข้าว สร้าง economy of scale
      (3) บริหารจัดการด้านการตลาด การส่งออก เพื่อยกระดับราคา
           ข้าวส่งออก
      (4) ควรเป็นวิธีที่คำนึงถึงปัญหาน้ำท่วม ในกรณีที่ไม่มีข้าวขาย
           ควรจะมีเงินชดเชยให้
14.9
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
7.5
 
 
             7. ข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาราคาข้าว/โครงการรับจำนำข้าวนาปี

 
(1) การแก้ปัญหาราคาข้าวต้องมีการบริหารจัดการที่รัดกุมอย่าให้เกิดการทุจริตได้ โดยการ
     รวบรวมสาเหตุที่โครงการรับจำนำข้าวในอดีตขาดทุน แล้วกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้
     เกิดซ้ำ เช่น ปัญหาการสวมสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ หรือ โรงสีนำข้าวเปลือกจากชาวนา
     หมุนเวียนเข้าร่วมโครงการ เป็นต้น
(2) ควรใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าวมากกว่าการแทรกแซงราคา พัฒนา
     ผลผลิตต่อไร่ พัฒนาคุณภาพข้าว เป็นต้น
(3) เลือกจังหวะเวลาในการแก้ปัญหา เพราะทั้งโครงการประกันรายได้ และโครงการรับจำนำ
     ข้าว ก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป รวมถึงควรดูอัตราแลกเปลี่ยนประกอบ เพื่อไม่ให้
     ผู้ส่งออกและรัฐบาลเสียผลประโยชน์
(4) ควรมีการจดทะเบียนผู้ปลูกข้าวเหมือนผู้ปลูกอ้อย ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมปริมาณ
     ผลผลิตได้ รวมถึงควรหาวิธีในการเป็นผู้กำหนดราคาข้าวในตลาดโลก
(5) ต้องยอมรับว่าแนวทางประกันราคาเป็นวิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้ ไม่ควรยึดว่าเป็นของต่าง
     พรรคการเมือง
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่
                     แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชน โดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานอันก่อให้เกิด
                      ประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
               จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
               ด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับ
               ชั้นนำของประเทศ จำนวน 31 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
               เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
               ประเทศไทย(TDRI)   มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย   ตลาดหลักทรัพย์
               แห่งประเทศไทย   ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย   ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารไทยพาณิชย์
               ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  ธนาคารนครหลวงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารทหารไทย   บริษัทหลักทรัพย์
               เคจีไอ   บริษัทหลักทรัพย์เอเชีพลัส   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   บริษัทหลักทรัพย์
               ฟินันเซีย ไซรัส  บริษัททริสเรตติ้ง   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ  สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัย
               วลัยลักษณ์  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
               คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
               สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ   และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
               และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                        รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
               ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 26 กันยายน - 3 ตุลาคม 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 5 ตุลาคม 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
27
40.3
             หน่วยงานภาคเอกชน
25
37.3
             สถาบันการศึกษา
15
22.4
รวม
67
100.0
เพศ:    
             ชาย
36
53.7
             หญิง
31
46.3
รวม
67
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
27
40.3
             36 – 45 ปี
18
26.9
             46 ปีขึ้นไป
22
32.8
รวม
67
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
6.0
             ปริญญาโท
49
73.1
             ปริญญาเอก
14
20.9
รวม
67
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
14
20.9
             6 - 10 ปี
19
28.4
             11 - 15 ปี
7
10.4
             16 - 20 ปี
8
11.9
             ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป
19
28.4
รวม
67
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776